หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

การรักษา cholesterol ในเลือดสูงด้วยอาหาร

ประกอบด้วยหลักการ 7 ประการ
         1. รับประทานที่ให้พลังงานแต่พอควร การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าร่างกายนำไปใช้ จะก่อให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด ซึ่งมีผลทำให้ VLDL-Triglyceride ในเลือดสูงขึ้น HDL-cholesterol ในเลือดต่ำ ตลอดจนอาจทำให้ LDL-cholesterol ในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่อายุมากกว่า20ปีสามารถประเมินตนเองว่าอ้วนหรือไม่ได้2วิธีคือ
  •  อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก ผู้ชายและผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวที่ระดับสะดือต่อเส้นรอบวงสะโพกน้อยกว่า 1 และ 0.8ตามลำดับ หรืออาจจะวัดเส้นรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.ส่วนผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.
  • ดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนัก(กก)หารด้วยส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสองค่าปกติอยู่ระหว่าง 20.00-25.00กก/ตารางเมตร 
  • 2. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินควรจะลดปริมาณอาหารลง
รับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกินร้อยละ30ของพลังงานที่ได้รับประทานไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันอย่างเหมาะสมดังนี้
  • รับประทานไขมันอิ่มตัว [saturated fat]ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับเพราะไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เพิ่ม LDL-cholesterol ในกระแสเลือด
  • รับประทานกรดไลโนเลอิก [linoleic acid] ร้อยละ 7ของพลังงานที่ได้รับโดยมีเหตุผล 2ประการคือป้องกกันการขาดกรดไลโนเลอิกและลดระดับ LDL-cholesterol
  • รับประทานกรดแอลฟา-ไลโนเลอิด [alpha-linolenic acid] ร้อยละ 0.5-1.0 ของพลังทั้งหมด
  • รับประทานกรดโอเลอิก [oleic acid] ร้อยละ 10-15ของพลังงานทั้งหมดเพราะกรดนี้สามารถ LDL-cholesterlได้ดีพอๆกับไลโนเลอิก
ในทางปฏิบัติกระทำได้โดยการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองวันละ1.5-4.5ช้อนโต๊ะและหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปามล์ กะทิ เนยเหลว เนยเทียมแข็ง นม ครีม ไอสครีม หมูสามชั้น เนื้อติดมันมากๆ ไส้กรอก อาหารทอดนอกบ้าน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย ทอดมัน

3. รับประทานไขมันcholesterolไม่เกินวันละ 300 มก. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากคือสมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง จึงหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ส่วนเนื้อไม่ติดมันรับประทานได้พอควร
4. รับประทานโปรตีนร้อยละ15-20ของพลังงานที่ได้รับ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันไม่มากเช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมพร่องมันเนยถั่วเหลือง ไข่ไม่เกินวันละฟอง
5. รับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-60 ของพลังงานทั้งหมด
6. รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานเพราะใยอาหารจะช่วยลด cholesterolในเลือด
7. เลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน[monounsaturated]สูง กรดไลโนเลอิก และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ [polyunsaturated] พอควร ไขมันอิ่มตัว[saturated]ต่ำ ดังนั้นที่ดีคือ น้ำมันมะกอก รองลงมาคือน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด

6 อัศวินช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
1.มะเขือต่างๆ
2.หอมหัวใหญ่ๆ
3.กระเทียม
4.ถั่วเหลือง
5.แอปเปิ้ล
6.โยเกิร์ต
ถั่วเหลือง
กระเทียม
โยเกิร์ต

หอมหัวใหญ่
มะเขือเทศ
วันใดมื้อใดที่คุณมีเมนูอาหารซึ่งอุดมไปด้วยไขมันมากๆก็ควรรับประทานอัศวิน ตัวหนึ่งตัวใดเพื่อควบคุมไขมัน เช่นเมื่อรับประทานแกงกะทิที่มันๆ ก็ควรรับประทานมะเขือเปราะหรือมะเขือพวงมากๆ เมื่อรับประทานไข่มากๆซึ่งเป็นตัวเพิ่มคอเลสเตอรอลที่น่ากลัวนัก คุณก็ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ร่วมกับไข่เจียวหรือไข่ดาวด้วย หรือรับประทานแอปเปิลวันละ 1 ผลทุกๆ วัน หรือโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วยทุกๆวัน รับประทานกระเทียมสดๆ เล็กน้อยกับอาหารจานยำ จานคาวต่างๆ
เพื่อขับคอเลสเตอรอลออกจาก ร่างกายอันเป็นเรื่องที่แสนง่ายดายกว่าการเลิกรับประทานอาหารมันๆ ทุกจานโดยสิ้นเชิง คุณยังสามารถรับประทานเนย แฮม เบคอน ขาหมู ไข่ หรืออาหารไขมันสูงจานต่างๆ ได้ในบางมื้อ บางวันหากเพียงคุณรู้จักรับประทานอาหารอัศวินเหล่านี้เข้าไปด้วย
ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลแล้ว อาหาร 6 อย่างนี้ยังมีคุณค่าของสารอาหารและแร่ธาตุสำคัญที่จะนำประโยชน์สู่ร่างกายของคุณอย่างมากมายในด้านอื่นๆ อีกด้วยเช่น แอปเปิล หอมใหญ่และโยเกิร์ต ช่วยให้คุณขับถ่ายดี ผิวพรรณสวยงามเป็นต้น

แหล่งที่มา : http://www.thaimtb.com
ภาพประกอบ : อินเทอร์เน็ต