หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

3 เมนูสบายท้อง สำหรับผู้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เบา เบา รสไม่จัด



เมนูอยู่ด้านล่างค่ะ)
ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา
ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา เรื่องสำคัญเกี่ยวกับอาการปวดท้องที่คนทั่วไปควรสนใจได้แก่ การแยกให้ได้ว่ากรณีใดควรรักษาตนเอง และกรณีใดควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการปวดท้องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และสามารถรักษาด้วยตนเองได้ 
 เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ ส่วนอาการปวดท้องบางกรณีจะยากในการวินิจฉัยเบื้องต้น หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน ได้แก่ อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกระทันหัน และรุนแรง อาการปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง โดยไม่ทุเลาเลย อาการปวดท้องที่มีอาการอาเจียนหลายครั้ง และอาการปวดท้องที่รักษาด้วยตนเองแล้วไม่ทุเลา
รายละเอียดอาการปวดท้องที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
  1. ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
  2. ปวดท้องมานานเท่าไร ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
  3. ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น
  4. อาการปวดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทันทีทันใด หรือค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ได้จึงมาพบแพทย์
  5. มีอาการปวดร้าวไปที่อื่นหรือไม่ เช่น ปวดร้าวไปที่หัวไหล่ขวาหรือซ้าย ร้าวไปหลัง ไปเอว ไปขาหนีบ หรือร้าวไปที่ลูกอัณฑะมีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
  6. สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้น เช่น อาหาร การถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน
  7. สาเหตุที่ทำให้ปวดน้อยลง เช่น อาเจียนแล้วดีขึ้น การอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวท่านั่งหรือท่านอน การงอตัว อาหาร หรือยาบางชนิดเช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  8. ประวัติการเจ็บป่วย และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ โรคแผล ในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี เคยได้รับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ท้อง
  9. ประวัติส่วนตัว ประวัติประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย งานประจำ และงานอดิเรกที่อาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย

อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร
  1. มักเกิดขึ้นขณะที่กำลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารอิ่มแล้วไม่นานนัก โดยทั่วไปมักเกิดเมื่อรับประทานอาหารมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารห่างจากมื้อก่อนนานกว่าปกติ เรียกว่าหิวอยู่นาน
  2. ตำแหน่งที่ปวดอยู่บริเวณสูงกว่าสะดือ
  3. บางคนจำได้ว่า เคยมีอาการเช่นเดียวกันนี้เป็นครั้งคราว ภายใต้สภานการณ์เดียวกัน และหายได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง วันต่อมาก็สบายดี รับประทานอาหารได้ตามปกติ
  4. บางคนอาการไม่รุนแรงพอที่จะเรียกว่าปวดท้อง ก็เรียกว่า ท้องอืด หรือท้องเฟ้อ อาการเหล่านี้หากเกิดเป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นความผิดปกติชั่วคราว เกิดจากกระเพาะอาหารบีบตัวรุนแรงกว่าธรรมดา ต่างจากโรคกระเพาะอาหารจริงๆ ซึ่งคนไข้จะปวดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานหลายวัน เป็นสัปดาห์ หรือนานกว่านั้นหากไม่ได้รับการรักษา
  5. กรณีหลังนี้น่าจะสงสัยในเบื้องต้นว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป เช่น พิจารณาส่องกล้องตรวจเยื่อบุกระเพาะ และทางเดินอาหารส่วนต้น หรือพิจารณาส่งตรวจด้วยการกลืนแป้งแล้วฉายภาพรังสีเพื่อดูว่ามีความผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
  6. การรักษาเบื้องต้นในกรณีปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร หากเป็นขณะกำลังรับประทานอาหาร ต้องหยุดรับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ให้ลุกจากโต๊ะอาหารไปเดินเล่น อาการจะค่อยๆ หายไป หากเกิดภายหลังอิ่มอาหาร และดื่มน้ำแล้ว การลุกไปเดินก็จะทำให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ยาที่จะช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้น ได้แก่ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น โซดามินต์ เพื่อให้หายเร็วควรรับประทานครั้งแรก 4 เม็ด หากไม่หายภายใน 5 นาทีให้รับประทานอีก 2 เม็ด ถ้าหาย ต่อไปอาจป้องกันการเกิดอาการนี้ได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุ ถ้าทำไม่ได้ ขณะหิวมากก่อนรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาลดกรด เช่น โซดามินต์ 2 เม็ดเสียก่อนที่จะเกิดอาการ หรือถ้าต้องการใช้ยาที่ออกฤทธิ์นานอาจใช้รานิติดีน ranitidine ในกรณีที่อาการไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไปเพราะสาเหตุอาจจะเป็นจากโรคแผลในกระเพาะอาหารชนิดรุนแรง หรืออาจเป็นโรคนิ่วถุงน้ำดีหรือโรคหัวใจก็ได้
  7. เชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" (Helicobacter pyroli) เข้าสู่กระเพาะได้โดยการกลืนเข้าไป หรือขย้อนเชื้อจากลำไส้มาอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัวในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย เอ็นซัยม์ และสารพิษมาทำลาย และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะ จะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบ และเกิดเป็นแผลได้ในที่สุด
โรคอาหารเป็นพิษ
  1. โรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ทำให้มีอาการปวดท้องร่วมกับอาการอาเจียน และอาการท้องเดิน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือสารพิษจากแบคทีเรีย อาการปวดท้องมักจะอยู่บริเวณกลางท้องรอบๆ สะดือ หรือสูงกว่าเล็กน้อย ถ้าอาการปวดท้องเกิดขึ้นร่วมกับอาการอาเจียน การอาเจียนจะมีผลทำให้อาการปวดท้องทุเลาอย่างชัดเจน ถ้าอาการปวดท้องเกิดร่วมกับอาการท้องเดิน การถ่ายอุจจาระจะทำให้อาการปวดท้องทุเลาเช่นกัน
  2. การรักษา อาการปวดท้องในกรณีนี้ ถ้ายังมีอาการอาเจียนอยู่ อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางที่ท้อง ถ้าไม่อาเจียน หรือหายอาเจียนแล้ว ให้รับประทานยาบุสโคพาน buscopan ร่วมกับพอนสแตน ponstan แม้ว่าอาการปวดท้องจะทุเลาแล้ว ควรป้องกัน การเกิดอาการปวดท้อง โดยรับประทานเฉพาะบุสโคพานทุก 4 ชั่วโมง ประมาณ 3 ครั้ง ถ้ารับประทานอาหารได้ ควรรับประทานยาประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนอาหาร ปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษต้องหายภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  3. ฤดูร้อนเป็นฤดูที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ในบางพื้นที่ของประเทศที่ประสบกับภาวะภัยแล้ง ในช่วงฤดูร้อนนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น จึงควรระมัดระวังในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในการใส่อาหาร ตลอดจนให้มีการใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และควรทราบในเบื้องต้นถึงอาการสำคัญและวิธีการป้องกันโรคติดต่อที่มักจะเกิดในฤดูร้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อย
  4. โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อซัลโมเนลล่า แคมไพโรแบคเตอร์ เชื้อรา เห็ดบางชนิด หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอ ก่อนรับประทานก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้
แหล่งที่มา : http://www.108health.com

เมนูสบายท้อง เบาเบา รสไม่จัด
ข้าวต้มกุ้ง
ถ้ารีบรับประทานก็ใช้ข้าวสุกแทนข้าวสารแต่จะไม่อร่อยเท่า
ส่วนผสมสำหรับ 1-2 ที่
ข้าวสาร 1 ถ้วย กุ้งสดแกะเปลือก 150 กรัม น้ำ 2 ถ้วย ตังฉ่าย 1 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 2-3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา ผงซุป 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียมสด 3-4 กลีบ ขึ้นฉ่ายหั่นหยาบ 1 ต้น น้ำมันกระเทียมเจียว 3 ช้อนโต๊ะ พริกไทยดำป่นตามชอบ
 วิธีทำ
1. ต้มน้ำกับกระเทียมบุบและผงซุป พอน้ำเดือดใส่ข้าวสารแล้วเคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนเมล็ดข้าวสุกบาน จากนั้น ใส่ตังฉ่ายและเนื้อกุ้ง เดือดดีแล้วปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำตาลทรายเล็กน้อย ชิมรส
 2. ใส่ใบขึ้นฉ่ายแล้วยกขึ้นจากเตา ตักใส่ถ้วย เติมน้ำมัน กระเทียมเจียว และโรยพริกไทย พร้อมเสิร์ฟ
 เวลาในการปรุง 25 นาที
ส่วนผสมราคาประมาณ 180 บาท

บะหมี่ซีฟู้ด
ใช้กระดูกและหัวปลาเคี่ยวน้ำซุปได้รสอร่อยเข้มข้น
ส่วนผสมสำหรับ 1-2 ที่
บะหมี่ 2-3 ก้อน เนื้อซีฟู้ดต่าง ๆ หั่นชิ้นพอดีดำ 250 กรัม เห็ดหูหนูและผักสดตามชอบ ต้นหอมซอยเล็กน้อย น้ำจิ้มแจ่วพริกคั่ว 
เครื่องปรุงน้ำซุป หัวและก้างปลา 100 กรัม ขึ้นฉ่ายหั่นท่อน 2 ต้น พริกไทยเม็ดบุบ 1 ช้อนชา แครอตหั่นชิ้น 2 หัว ผักกาดหั่นชิ้น 1 หัว กะหล่ำปลีหั่น 4 ส่วน 1 หัวเล็ก หัวหอมหัวใหญ่หั่นครึ่ง 1 หัว ขิงบุบ 2 แง่ง น้ำต้มสุก 5 ถ้วย เกลือ 1 ช้อนชา น้ำตาลอ้อย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ต้มน้ำพอเดือดใส่เครื่องปรุงน้ำซุปแล้วปรุงรสตามชอบ จากนั้น หรี่ไฟลงและเคี่ยวต่อไปเรื่อย ๆ ประมาณ 20-30 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำซุป
 2. ลวกเส้นบะหมี่จัดใส่ถ้วยพร้อมซีฟู้ดต่าง ๆ ที่ลวกจนสุกดีแล้ว ตักน้ำซุปใส่ลงในถ้วย โรยต้นหอมซอย เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มแจ่ว
 เวลาในการปรุง 25 นาที
 ส่วนผสมราคาประมาณ 190 บาท

สลัดซีซาร์
กินผักสดสบายท้อง น้ำสลัดกินง่ายปรุงเองตามชอบ
ส่วนผสมสำหรับ 1-2 ที่
ผักสลัดใบเขียวตามชอบ 150 กรัม มะเขือเทศราชินี 50 กรัม เบคอนทอดกรอบ 50 กรัม ขนมปังกรอบครูตองส์กระเทียม เครื่องเทศ Garlic-Herb Butter Croutons 50 กรัม น้ำมันมะกอก 1 ถ้วย ชีสพาร์มีซาน 30 กรัม ไข่ต้ม 1 ฟอง หัวหอมแดง/หัวหอมใหญ่ซอย 1 ช้อนโต๊ะ น้ำสลัดซีซาร์ตามชอบ
เครื่องปรุงน้ำสลัดซีซาร์
 ชีสพาร์มีซาน 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ พริกไทยดำบดหยาบตามชอบ ไข่แดง 2 ฟอง เกลือเล็กน้อย
 วิธีทำ
 1. ตีส่วนผสมเครื่องปรุงของน้ำสลัดทั้งหมดเข้าด้วยกัน เติมน้ำมันมะกอกแล้วคนให้เข้ากันอีกครั้ง ถ้าชอบกลิ่นปลาแองโชวี่ก็สามารถสับลงไปผสมได้
 2. จัดผัก มะเขือเทศ และเครื่องปรุงสลัดต่าง ๆ ใส่จานราดน้ำสลัดให้ทั่ว โรยหัวหอมแดงซอย พร้อมเสิร์ฟ
 เวลาในการปรุง 25 นาที
ส่วนผสมราคาประมาณ 190 บาท
ขอขอบคุณ : http://women.kapook.com