1. รับประทานที่ให้พลังงานแต่พอควร การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าร่างกายนำไปใช้ จะก่อให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด ซึ่งมีผลทำให้ VLDL-Triglyceride ในเลือดสูงขึ้น HDL-cholesterol ในเลือดต่ำ ตลอดจนอาจทำให้ LDL-cholesterol ในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่อายุมากกว่า20ปีสามารถประเมินตนเองว่าอ้วนหรือไม่ได้2วิธีคือ
- อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก ผู้ชายและผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวที่ระดับสะดือต่อเส้นรอบวงสะโพกน้อยกว่า 1 และ 0.8ตามลำดับ หรืออาจจะวัดเส้นรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.ส่วนผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.
- ดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนัก(กก)หารด้วยส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสองค่าปกติอยู่ระหว่าง 20.00-25.00กก/ตารางเมตร 2. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินควรจะลดปริมาณอาหารลง
- รับประทานไขมันอิ่มตัว [saturated fat]ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับเพราะไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เพิ่ม LDL-cholesterol ในกระแสเลือด
- รับประทานกรดไลโนเลอิก [linoleic acid] ร้อยละ 7ของพลังงานที่ได้รับโดยมีเหตุผล 2ประการคือป้องกกันการขาดกรดไลโนเลอิกและลดระดับ LDL-cholesterol
- รับประทานกรดแอลฟา-ไลโนเลอิด [alpha-linolenic acid] ร้อยละ 0.5-1.0 ของพลังทั้งหมด
- รับประทานกรดโอเลอิก [oleic acid] ร้อยละ 10-15ของพลังงานทั้งหมดเพราะกรดนี้สามารถ LDL-cholesterlได้ดีพอๆกับไลโนเลอิก
3. รับประทานไขมันcholesterolไม่เกินวันละ 300 มก. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากคือสมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง จึงหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ส่วนเนื้อไม่ติดมันรับประทานได้พอควร
4. รับประทานโปรตีนร้อยละ15-20ของพลังงานที่ได้รับ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันไม่มากเช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมพร่องมันเนยถั่วเหลือง ไข่ไม่เกินวันละฟอง
5. รับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-60 ของพลังงานทั้งหมด
6. รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานเพราะใยอาหารจะช่วยลด cholesterolในเลือด
7. เลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน[monounsaturated]สูง กรดไลโนเลอิก และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ [polyunsaturated] พอควร ไขมันอิ่มตัว[saturated]ต่ำ ดังนั้นที่ดีคือ น้ำมันมะกอก รองลงมาคือน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด