หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

5 เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน

อาการของโรคมะเร็งตับอ่อนและเมนูอาหารสำหรับผู้เป็นมะเร็งตับอ่อน
วิธีรักษาและลักษณะของโรคมะเร็งตับอ่อน
   เกรียงไกร อายุ 52 ปี ลาออกจากบริษัทเพราะอยากมีกิจการร้านอาหารของตัวเอง จึงไปลงเรียนทำอาหาร วันหนึ่ง
เกรียงไกรพาครอบครัวออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน และถือโอกาสสำรวจรสชาติอาหารตามร้านต่าง ๆ ไปด้วย หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จ เขาเกิดอาการปวดท้อง แต่คิดว่าไม่เป็นไรเพราะอาจเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป หลายวันผ่านไปก็ยังมีอาการปวดท้องอยู่ แต่คราวนี้มีอาการแน่นร่วมด้วย เขาจึงรีบไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาลาล และก็พบว่าทุกอย่างปกติดี ไม่พบเนื้องอกและมะเร็งใด ๆ แต่พบว่ามีคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเป็นคนชอบรับประทานอาหารไขมันสูงและดื่มเหล้าหลังอาหารทุกวัน
   หลังจากไปพบหมอ เกรียงไกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองใหม่ โดยวิ่งและออกกำลังกายทุกเช้า และเลิกบุหรี่ที่สูบมานานเกือบ 30 ปี จู่ ๆ ก็เกิดอาการปวดหลังขึ้นมาอีก แต่คิดไปว่าเป็นเพราะเริ่มออก
กำลังกายกะทันหันเกินไป เขาจึงให้ภรรยานวดหลัง อาการก็ดีขึ้น แล้ว 2 สัปดาห์ต่อมา อาการปวดท้องและแน่นท้องก็หายไป เขาเข้าใจว่า ร่างกายเริ่มแข็งแรงเป็นปกติแล้ว โดยไม่รู้ว่าโรคร้ายกำลังมาเยือน จวบจนครึ่งปี ด้วยความมานะพยายามทำให้เขาสามารถเปิดร้านอาหารได้สำเร็จและกำลังจะเปิดตัวในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าคืนก่อนเปิดร้าน กลางดึกเขาออกมาปัสสาวะและพบว่าสีปัสสาวะกลายเป็นสีช็อกโกแลต และหน้าเขาซีดเหลืองเห็นได้ชัด เกิดอะไรขึ้นกับเกรียงไกร?
 กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อน
   มักเกิดกับคนที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และสามารถเกิดได้กับคนที่คิดว่าตัวเองแข็งแรง ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากโรคชนิดนี้เกิดจากการสะสมของสารพิษ และมลภาวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้ตับอ่อนอักเสบ
 อาการที่พึงระวัง
 คนที่มีอาการปวดท้องบ่อย ๆ แต่ไม่รุนแรง และอยู่ ๆ อาการปวดท้องก็หายไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือ

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

3 เมนูสบายท้อง สำหรับผู้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เบา เบา รสไม่จัด



เมนูอยู่ด้านล่างค่ะ)
ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา
ปวดท้องที่ไม่ธรรมดา เรื่องสำคัญเกี่ยวกับอาการปวดท้องที่คนทั่วไปควรสนใจได้แก่ การแยกให้ได้ว่ากรณีใดควรรักษาตนเอง และกรณีใดควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อาการปวดท้องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และสามารถรักษาด้วยตนเองได้ 
 เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร และปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ ส่วนอาการปวดท้องบางกรณีจะยากในการวินิจฉัยเบื้องต้น หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน ได้แก่ อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นกระทันหัน และรุนแรง อาการปวดท้องที่คงอยู่นานกว่า 4 ชั่วโมง โดยไม่ทุเลาเลย อาการปวดท้องที่มีอาการอาเจียนหลายครั้ง และอาการปวดท้องที่รักษาด้วยตนเองแล้วไม่ทุเลา
รายละเอียดอาการปวดท้องที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
  1. ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดเปลี่ยนหรือ ย้ายที่หรือไม่
  2. ปวดท้องมานานเท่าไร ภายในไม่กี่ชั่วโมง 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
  3. ลักษณะของอาการปวดเป็นแบบใด ปวดเป็นพักๆ เดี๋ยวปวดมากเดี๋ยวเบาลง หรือปวดตลอดเวลา ไม่มีหยุดพักเลย และปวดแบบแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแทง ปวดตื้อๆ หรือปวดถ่วงๆ เป็นต้น
  4. อาการปวดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทันทีทันใด หรือค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ได้จึงมาพบแพทย์
  5. มีอาการปวดร้าวไปที่อื่นหรือไม่ เช่น ปวดร้าวไปที่หัวไหล่ขวาหรือซ้าย ร้าวไปหลัง ไปเอว ไปขาหนีบ หรือร้าวไปที่ลูกอัณฑะมีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
  6. สาเหตุที่ทำให้ปวดมากขึ้น เช่น อาหาร การถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ การหายใจแรงๆ ไอหรือจาม การเคลื่อนไหว ท่านั่งหรือท่านอน

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

5 เมนู สำหรับผู้เป็นกรดไหลย้อน

"กรดไหลย้อน" โรคยอดฮิตของคนเมือง
หากถามว่าปัจจุบัน สถานการณ์เรื่องไหนดูน่ากลัวที่สุด เชื่อว่าเกือบทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “สถานการณ์ไข้หวัด2009” เพราะดูเหมือนว่า ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจะมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน
ถึงแม้ว่าการระบาดมีแนวโน้มชะลอลงบ้างแล้ว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ก็ตาม ในขณะที่ทุกคนมัวแต่หวาดกลัวไข้หวัด 2009 สายตาจับจ้องสังเกตอาการคนใกล้ชิดว่า มีไข้ ปวดเนื้อตัว เข้าข่ายติดเชื้อหรือไม่  ขณะที่อาการเหล่านี้ ซึ่งเหมือนมีน้ำย่อยขมๆ ไหลย้อนมาที่คอ แสบร้อนยอดอก ท้องอืด แน่นท้องหรือรู้สึกจุกที่คอ หลังอาหารมื้อหลักมักจะคลื่นไส้อาเจียน คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า อาการเหล่านี้ก็อันตรายต่อสุขภาพคุณเช่นกัน เพราะเป็นสัญญาณเตือนของภัยเงียบที่เรียกว่า “โรคกรดไหลย้อน”

 โรคกรดไหลย้อน ไม่ได้เป็นโรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานแล้ว เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ หรือเกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร รวมถึงพันธุกรรมอีกด้วย
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นโรคนี้
     พฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก ตื่นเช้ามาก็เร่งรีบไปทำงาน ไม่ค่อยกินข้าว กินแต่กาแฟ แถมยังชอบกินอาหารเย็นหนักๆ แล้วก็นอน อาหารจึงยังตกค้างอยู่ในกระเพาะ ร่างกายต้องหลั่งกรดออกมาย่อยอาหารที่ยังตกค้างอยู่ ประกอบกับท่านอนไม่ถูกต้อง หัวเสมอหรือต่ำกว่าลำตัว ทำให้กรดใน