หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

5 เมนู สำหรับผู้เป็นกรดไหลย้อน

"กรดไหลย้อน" โรคยอดฮิตของคนเมือง
หากถามว่าปัจจุบัน สถานการณ์เรื่องไหนดูน่ากลัวที่สุด เชื่อว่าเกือบทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “สถานการณ์ไข้หวัด2009” เพราะดูเหมือนว่า ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจะมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน
ถึงแม้ว่าการระบาดมีแนวโน้มชะลอลงบ้างแล้ว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ก็ตาม ในขณะที่ทุกคนมัวแต่หวาดกลัวไข้หวัด 2009 สายตาจับจ้องสังเกตอาการคนใกล้ชิดว่า มีไข้ ปวดเนื้อตัว เข้าข่ายติดเชื้อหรือไม่  ขณะที่อาการเหล่านี้ ซึ่งเหมือนมีน้ำย่อยขมๆ ไหลย้อนมาที่คอ แสบร้อนยอดอก ท้องอืด แน่นท้องหรือรู้สึกจุกที่คอ หลังอาหารมื้อหลักมักจะคลื่นไส้อาเจียน คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า อาการเหล่านี้ก็อันตรายต่อสุขภาพคุณเช่นกัน เพราะเป็นสัญญาณเตือนของภัยเงียบที่เรียกว่า “โรคกรดไหลย้อน”

 โรคกรดไหลย้อน ไม่ได้เป็นโรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานแล้ว เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ความดันของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ หรือเกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร รวมถึงพันธุกรรมอีกด้วย
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นโรคนี้
     พฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก ตื่นเช้ามาก็เร่งรีบไปทำงาน ไม่ค่อยกินข้าว กินแต่กาแฟ แถมยังชอบกินอาหารเย็นหนักๆ แล้วก็นอน อาหารจึงยังตกค้างอยู่ในกระเพาะ ร่างกายต้องหลั่งกรดออกมาย่อยอาหารที่ยังตกค้างอยู่ ประกอบกับท่านอนไม่ถูกต้อง หัวเสมอหรือต่ำกว่าลำตัว ทำให้กรดใน
กระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอ เกิดอาการแสบระคายเคืองขึ้นมาบนคอ
     ลักษณะของโรค มักเรื้อรังหรือเป็นหายๆ และถ้าปล่อยให้หลอดอาหารส่วนปลายระคายเคืองไปนานๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งนำไปสู่มะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด
    อาการ
 อาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ อาการแสบยอดอก (Heartburn) ขย้อน หรือสำรอก (Regurgitation) รู้สึกเปรี้ยว (กรด) หรือขม (ด่าง) ในปาก หรือบริเวณช่องคอด้านหลัง เรอ จุก เสียด แน่นในคอ หรือหน้าอก นอกจากนี้ อาจมีอาการอันเนื่องจากกรดระคายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม เช่น เสียงแหบ ไอหรือกระแอมบ่อยๆ เจ็บคอเรื้อรัง ปอดอักเสบ ฟันผุ มีกลิ่นปาก เป็นต้น
     ในแง่การวินิจฉัยโรคนั้น แพทย์สามารถวินิจฉัยจากอาการที่ชัดเจนและให้การรักษาเบื้องต้นและติดตามดูอาการ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการสำคัญชัดเจนหรือมีอาการร่วมอื่น หรือได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การตรวจทางรังสีวิทยา การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดการเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่า ได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน
    การรักษา
     ควรมุ่งที่การควบคุมอาการให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งหลักใหญ่อาศัยการปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และวิถีชีวิตของผู้ป่วย ประสานกับการกินยาเท่าที่จำเป็น ซึ่งการปรับเปลี่ยนอาหารนั้นเน้น 2 เรื่องใหญ่ คือ
     1.หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำมัน ของทอดและอาหารที่มีไขมันสูงทั้งหลาย อาหารที่ผสมครีม อาหารขยะ เป็นต้น สำหรับผู้ที่น้ำหนักเกิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมน้ำหนัก
     2.หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ชา กาแฟ กระเทียม หัวหอม พริก และอาหารเผ็ดร้อน หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว แป้ง ข้าวโพด ลูกพรุน ส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม และน้ำตาล เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
     -อย่ากินอิ่มเกิน กินน้อยแต่หลายมื้อได้
     -อย่ากินอย่างเร่งรีบ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
     -อย่าดื่มน้ำมากพร้อมอาหาร
     -กินอาหารแล้วห้ามออกกำลังกาย หรือนอนทันที ควรทิ้งช่วงประมาณ 2-3 ชั่วโมง อย่าก้ม (โดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร)
     -อย่าใส่เข็มขัด หรือเสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป
     -ระหว่างนอน ควรยกหัวเตียงให้ลาดสูงขึ้นประมาณ 6-8 นิ้ว
     -ต้องจัดการกับความเครียด ผ่อนคลายให้มากขึ้น เพราะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีกรดมาก
เมนูสำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน
1. เมนูผักสีเขียวต้ม


วัตถุดิบ
1. กระเจี๊ยบเขียว  5 ฝัก
2. มะเขือ  3 ลูก
3. ดอกแค  1 กำ
4. ถั่วฝักยาว 4 ฝัก หั่นถั่วประมาณ 3 นิ้ว
5. บวบหอม 2 ลูก
6.ฟัก ครึ่งลูก
7.ข้าวโพดฝักอ่อน 5 ฝัก
วิธีต้ม
ให้นำผักที่ชอบล้างให้สะอาด เตรียมหม้อสำหรับต้ม ต้มรวมกันทั้งหมดมีเคล็ดลับอยู่ด้านล่างค่ะ

เคล็ดลับดีๆ ในการการต้มมีดังนี้
    1.พยายามใช้น้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการต้มผัก
    2.ก่อนจะนำผักลงต้มควรจะรอให้น้ำเดือดเสียก่อน จึงใส่ผักลงไป ไม่ควรแช่ไว้ในนั้น
    3.ผักสีเขียวควรทำให้สุกโดยวิธีการลวกหรือให้ใส่ลงไปในน้ำเดือด และพอน้ำเดือดอีกทีก็ให้ตักขึ้นทันที
    4.ผักที่เป็นหัว เช่น หัวผักกาด แครอต ควรต้มในน้ำเดือดอ่อนๆ และ ควรต้มทั้งหัวไม่ควรหั่นหรือฝาน จะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ได้มากกว่าการหั่นแล้วนำไปต้ม
    5.ทุกครั้งที่ต้มผักควรปิดฝาหม้อ เพื่อให้น้ำเดือดและผักสุกเร็วขึ้น ผักยิ่งอยู่ในน้ำร้อนนานๆ คุณค่าก็จะน้อยลง

2. เมนูผักสีขาวต้ม



วัตถุดิบ
1.กะหล่ำดอก ครึ่งหัว
2.ผักกาดขาว
3.ดอกแคสีขาว
4.หัวไชเท้า
เคลัดลับการต้มผัก: เวลาต้มผักควรเหยาะเกลือเล็กน้อย ถ้าต้มผักสีเขียวควรเปิดฝา ถ้าต้มหน่อไม้ควรที่จะปิดฝาค่ะ
3.เมนูกระเพาะปลาเห็ดหอม

วัตถุดิบ
1.กระเพาะปลา
2.หน่อไม้ต้มหั่นเส้น
3.น่องไก่ เนื้ออกไก่
4.ไข่นกกะทาต้มสุก
5.เห็ดหอมแช่น้ำนิ่ม
6.น้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว
7.เกลือ น้ำตาล
8.แป้งมัน แป้งข้าวโพด
9.รากผักชี กระเทียม พริกไทย
10.เส้นหมี่ลวกสุก
11.ต้นหอม ผักชี
วิธีทำ
ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ขิงแก่ทุบและนำกระเพาะปลาลงต้มค่ะ
เสร็จแล้วตักขึ้นบีบน้ำออกให้แห้งและหั่นเป็นชิ้นพักไว้
ตั้งหม้อน้ำซุป ใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยโขลกละเอียดลงไป
จากนั้นใส่น่องไก่ ฝนใส่เนื้ออกไก่ลงไปต้มด้วยค่ะ พอสุกก็ตักออกมา
พักให้เย็นแล้วฉีกเป็นเส้นๆค่ะ จากนั้นก็ใส่กระเพาะปลา เห็ดหอม หน่อไม้
และไข่นกกะทาลงไปค่ะ ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว เกลือ น้ำตาล
ชิมรสให้ออกรสเค็มหวานเล็กน้อย พอได้ที่แล้วก็ละลายแป้งมันแป้งข้าวโพดเข้าด้วยกันค่ะ
ใส่ลงในหม้อ คนเร็วๆไม่ให้แป้งจับกันเป็นก้อน แล้วเปิดไฟอ่อนๆเคี่ยวต่อซักพัก
ตักหมี่ลวกใส่ชาม ตามด้วยกระเพาะปลา โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชี พร้อมทานค่ะ
4. เมนูปลากระบอกต้มขมิ้น

เครื่องปรุง
   1.น้ำเปล่า
   2.ตะไคร้หั่นท่อน
   3.ขมิ้นชันบุบ
   4.ใบมะกรูด
   5.กระเทียมบุบ
   6.หอมแดงบุบ
   7.ปลากระบอกหั่นท่อน
   8.ตะลิงปลิงหั่นแว่น
   9.น้ำปลา (หรือเกลือป่น 1 ช้อนชา)
10.น้ำมะขามเปียก
11.น้ำตาลปี๊บ
12.พริกขี้หนูแห้งคั่ว
วิธีทำ
1.นำหม้อตั้งไฟ ใส่น้ำเปล่าลงไป ต้มให้เดือด
2.ใส่ตะไคร้ หั่นท่อน ขมิ้นชันบุบ ใบมะกรูด กระเทียมบุบ หอมแดงบุบ ต้มให้เดือดและหอม
3.ใส่เนื้อปลา กระบอกหั่นท่อนลงไป ต้มให้พอเดือด ใส่ตะลิงปลิง
4.ปรุงรสด้วย น้ำปลา หรือเกลือป่น น้ำมะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ ต้มพอปลาสุก
5.ชิมรสชาติ ให้ออก เปรี้ยว เค็ม หวานตามนิดหน่อย
6.ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยพริกขี้หนูแห้งคั่ว เสิร์ฟร้อน ๆ กับข้าวสวย
 5.เมนูปลาปิ้้งขมิ้น

ประโยชน์ของขมิ้น
ขมิ้นชันมีวิตามิน A , C , E ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรได้ดี และเนื้อปลาที่ย่อยง่าย มีโอเมก้า บำรุงสมอง ช่วนพัฒนาระบบความจำ
ส่วนผสม
1.ปลาตาเดียวสด 1 ตัว
2.ขมิ้นชันปอกเปลือกหั่น 2 ช้อนชา
3.กระเทียมไทย 10 กลีบ
4.พริกไทย 10 เม็ด
5.เกลือ ป่น
6.น้ำมัน พืช
7.น้ำเปล่า เล็กน้อย
วิธีทำ
1. ล้างและแผ่เนื้อปลาออกจากกระดูกล้างอีกครั้ง พักให้สะเด็ดน้ำ
2. โขลกพริกไทย เกลือป่น และกระเทียมขมิ้นชันให้ละเอียด เติมน้ำเปล่าเล็กน้อย
3.คลุก เคล้าปลากับเครื่องที่โขลกให้ทั่วหมักไว้ประมาณ 5 - 20 นาที นำปลาที่หมักไว้ ไปปิ้งไฟโดยใช้ไฟปานกลางจนสุก ระหว่างปิ้งชโลมน้ำมันพืชบนตัวปลาให้ ทั่ว
**หมายเหตุ**
อาหารจานนี้สามารถให้ปลาสดได้ทุกชนิด ถ้าเป็นปลาตัวเล็ก เช่น ปลาทู ควรบั้งก่อน ถ้าตัวใหญ่ควร
จะแล่ปลาให้เป็นชิ้นตามความต้องการ และสามารถทำให้สุกได้ด้วยเตาไมโครเวฟโดยห่อด้วยใบตองก่อนเข้าเตา
เรื่องเล่าแชร์ประสบการกรดไหลย้อนของคุณกิ๊ก จากเวป http://www.bloggang.com/viewdiary.
คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลตนเอง 
เมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน
1. ควรทานโจ๊ก ข้าวต้ม ในมื้อเย็นพร้อมกับผักต้มหรือผักลวกเท่านั้น ในมื้อเย็น ผมทานโจ๊กครึ่งจาน + บวบหอมต้ม + ผักกาดขาวต้ม + แตงไทย + ไข่ต้ม 1 ฟอง และเนื้อหมูต้มเล็กน้อย
 2. ให้ต้มหรือลวกผักทาน เน้นบวบหอมซึ่งเป็นผักฤทธิ์เย็น (ไม่ใช่บวบเหลี่ยม) - ตามคำแนะนำของพี่โก๋สหายธรรม (อายุ 57 ปี) ผมทานบวบหอมต้มเพียงครั้งเดียวอาการแสบหน้าอกหายไปทันที อาจเป็นเพราะผมเพิ่งมีอาการแสบหน้าอกไม่มากและเป็นครั้งแรก 
 มีคนถามว่าในการรักษา ผู้ป่วยจะต้องทานแต่ผักต้มนานแค่ไหน ตอบว่า ทานจนกว่าจะรู้ว่า บวมหอมมีรสหวาน
3.ในมื้อเย็น เขาทานแตงไทยเพียงอย่างเดียว 5 – 6 คำ แตงไทยจะดีเหมือนบวบเหมาะสำหรับคนธาตุร้อน สำหรับผมเป็นคนธาตุเย็นทานแตงไทยอย่างเดียวจะไม่เหมาะ ต้องมีเนื้อสัตว์ด้วย
 4. ทานผักสีขาวต้ม เพราะผักสีขาวย่อยง่าย เช่น ผักกาดขาว หัวกะหล่ำปลี  กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว สำหรับผักสีเขียวต้ม จะมีใยอาหารสูง ผมทานแล้วรู้สึกดี  ทานแล้วเรอออกมาตลอด
5. กระเพาะปลา ทานได้ เพราะย่อยง่าย
 6. เน้นทานผักต้มมากๆ ให้ใยกากอาหารไปดูดซับกรด แต่ถ้ามีอาการท้องอืดร่วมด้วย ให้ทานพอประมาณ 1 ถ้วย เช่น บวม 1 ผล + ผักกาดขาว 2 แผ่น เป็นการไม่ให้ลำไส้ทำงานหนักเกินไป
7. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ผมเคี้ยวผักต้ม 1 คำ 3 นาที



8. ออกกำลังกายทุกวัน ให้ความเครียดมันหายไป เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ โยคะ ฯลฯ
9. อย่าทานอาหารอิ่มจนท้องขยายมาก เพราะทำให้หูรูดเสื่อมประสิทธิภาพเร็ว
10. ขณะที่คุณป่วย ให้สังเกตตัวเอง และจดบันทึกไว้เป็นข้อมูลว่า อาหารชนิดไหนแสลงกับตัวคุณเอง ทำให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบ หรืออาหารชนิดไหนเหมาะสำหรับตัวคุณ บันทึกไว้.....แล้วนำมาเล่าบนเว็บไซต์ จะได้ทราบว่า ผู้ป่วยโรคนี้ควรเลือกหรือหลีกเลี่ยงอาหารอะไร หรือใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนไข้คนอื่นๆ เช่น พี่โก๋ซึ่งเล่าให้ฟังว่า ได้ทานมะม่วงสุกอย่างเดียวในมื้อเย็น ปรากฏว่า คืนนั้นอาการแสบร้อนหน้าอกกำเริบกลางดึก ทั้งๆที่วันก่อนไม่มีอาการเช่นนี้เลย และอย่างเช่นตัวผม ขณะเป็นโรคนี้จะไม่ถูกกับขนมปังเลย กินพายชิ้นเล็กๆ ชิ้นเดียว (ขนมปังน้อย แต่ไส้เยอะ) ทานแล้ว จุกที่คอทันที ทานผักต้มตามไปให้ช่วยเรอ ก็ไม่เรอ ทานยาขมิ้นชันไป 2 เม็ด ก็ไม่เรอ  ดื่มน้ำกระเพราซ้ำ ก็ไม่เรอ แถมแสบร้อนหน้าอกอีกต่างหาก



สรุปว่า
          หยุดเครียด + ควบคุมอาหาร + ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และออกกำลังกาย.....โปรดใจเย็นๆค่อยเป็นค่อยไปในการรักษา อาการจะทุเลาจนกรดไหลย้อนหายขาดได้
          ข้อเตือนใจ– การเลือกทานอาหารอร่อยนอกบ้านตามใจปาก ทานจุบจิบไม่เป็นเวลาและทานมื้อดึก ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ลูกสาวของพี่คนหนึ่ง อายุ 25 ปี เธอชอบทานอาหารอร่อยๆทุกอย่างตามคำบอกเล่าจากเพื่อนและโฆษณาจากสื่อต่างๆ หลังเลิกงาน เธอมักจะเปิด SmartPhone ดูแผนที่ โทรนัดเพื่อน นัดเจอในร้านอาหารที่เขาแนะนำว่าอร่อย ปรากฏว่า ตอนนี้เธอป่วยเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง และมีเลือดปนมากับอุจจาระ หมอส่องกล้องดูลำไส้ พบแผลในลำไส้ โชคดีที่เธอยังอายุน้อย สามารถรักษาอาการป่วยได้หายขาด และให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานมากขึ้น ถ้าเธออายุมากในขณะที่เป็นโรคนี้ ระบบในร่างกายจะฟื้นตัวเองยากขึ้นแค่ไหน.