หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร ควรงดรับประทานอาหารต่อไปนี้
- ของระคายกระเพาะทุกชนิด
อาทิ ของรสเผ็ดร้อน รสจัดๆ เครื่องดองของเมา เหล้า เบียร์ อีกทั้งบุหรี่ (บุหรี่นี่ถือเป็นสุดยอดของแสลงของโรคกระเพาะเลย)
ควันบุหรื่ จะไปรบกวนการหายของแผลในกระเพาะ
- ของที่ทำให้กระเพาะต้องทำงานหนัก
อาทิ ของย่อยยาก เช่น เนื้อเหนียวๆ ของที่เคี้ยวไม่ละเอียด ไปจนถึงของที่กินมากเกินไป จนกระเพาะคราก (ย่อยไม่ไหว) เพราะถ้ากินของเหล่านี้ กระเพาะจะย่อยอาหารอยู่เป็นเวลานาน แผลในกระเพาะจึงโดนกระทบกระเทือนมากหน่อย
ของมันๆก็ย่อยยากนะครับ เพราะในกระเพาะไม่มีน้ำย่อยไขมัน

- ความเครียด ความหิว ก็เป็นของแสลงเช่นกัน มันทำให้น้ำย่อยออกมาเยอะ โดยเฉพาะเวลากลางคืน ถ้านอนไม่หลับร่วมด้วยล่ะก็ โรคกระเพาะจะหายยาก แม้ว่าโรคนี้จะรักษาหายได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้
อีกหากผู้ป่วยไม่ปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพ สำหรับข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ได้แก่
1. รับประทานอาหารให้เป็นเวลาทุกมื้อ
2. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3. งดสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือใช้ในขนาดสูง
ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาประเภทนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
5. ออกกำลังกายหรือหากิจกรรมต่างๆทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด
   สิ่งที่ควรระลึกถึงเสมอในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหารคือการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพราะถ้ารักษาไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เป็นแผลมากกว่าเดิม เกิดแผลเรื้อรังและรักษาได้ยากขึ้น

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาหารของคนเป็นโรคโลหิตจาง

โลหิตจาง  เป็นภาวะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่โรคโดยตรง เป็นเครื่องบอกเหตุว่า มีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่
ซึ่งต้องค้นหาดูว่าเป็นอะไร แล้วจึงจะทำการรักษาที่ถูกต้อง
ในภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง 
** สาเหตุทำโรคนี้เพราะ มารดาของดิฉันเป็นอยู่จึงอยากรู้สาเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข จึงทำโรคโลหิตจาง** และเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่ประสงค์อยากรู้หรือเป็นเกี่ยวกับโรคนโลหิตจาง
โลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง (อังกฤษ: Anemia or Anaemia) เป็นการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง
น้อยกว่าปกติ หรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังรวมถึงภาวะที่ความสามารถใน
การจับออกซิเจนของโมเลกุลฮีโมโกลบินลดลง ทั้งจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือจำนวนฮีโมโกลบินที่สร้างขึ้นเช่นในภาวะขาดฮีโมโกลบิน (hemoglobin deficiency) บางชนิด เนื่องจากฮีโมโกลบิน (โปรตีนที่พบภายในเม็ดเลือดแดง) ปกติทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อ โลหิตจางจึงทำให้เกิดภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) ที่อวัยวะ และเนื่องจากเซลล์ทุกเซลล์ในมนุษย์ต้องการออกซิเจนเพื่อดำรงชีวิต โลหิตจางในระดับต่างๆ จึงทำให้เกิดอาการทางคลินิกตามมาได้หลายรูปแบบ   โลหิตจางเป็นความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดและมีหลายสาเหตุ การแบ่งประเภทของโลหิตจางแบ่งได้หลายแบบ ทั้งจากรูปลักษณ์ของเม็ดเลือดแดง กลไกสาเหตุที่นำให้เกิด และอาการทางคลินิกที่แสดงออก เป็นต้น โลหิตจางสามชนิดหลักๆ ได้แก่การเสีย